การจัดองค์ประกอบภาพ(Composition)
การจัดองค์ประกอบภาพ(Composition)
กฎสามส่วน
โดยทั่วไปคนส่วนมากเวลายกกล้องขึ้นเพื่อถ่ายภาพ มักจะวางเส้นตัดเหล่านี้ไว้ตรงกลาง ทำให้เกิดความรู้สึกเมื่อยามมองภาพว่าภาพนั้นถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน หรือเหมือนถูกพับให้มาบรรจบประกบพอดีกัน ไม่ได้เน้นส่วนใดให้ชัดเจน ทำให้ภาพขาดความน่าสนใจ ทฤษฎีที่ว่านี้จึงถูกคิดค้นขึ้นเพื่อเป็นแนวทางว่าเราควรจะวางเจ้าเส้นตัดเหล่านั้นไว้ตรงส่วนไหน แล้วจึงจะทำให้ภาพดูสะดุดตาน่าสนใจhttps://f.ptcdn.info/853/009/000/1379427431-o.jpg |
https://f.ptcdn.info/843/009/000/1379413142-mbepf0xv02-o.jpg |
จุดตัดเก้าช่อง
แบ่งภาพออกเป็นสามส่วนใหญ่ๆ ทั้งแนวตั้งและแนวนอน ซึ่งทำให้เกิดช่องด้วยกันเก้าช่องและเกิดจุดตัดด้วยกัน 4 จุด ตำแหน่งเหล่านี้เหมาะสมสำหรับการวางวัตถุหรือแบบเพื่อเน้นให้เป็นจุดเด่นจุดหลัก ไม่ใช่แต่เพียงวางอยู่ตรงกลางซึ่งจะทำให้ภาพดูน่าเบื่อ ซ้ำซาก อีกทั้งนอกเหนือจากตำแหน่งจุดตั้งทั้ง 4 แล้ว ยังมีพื้นที่เหลือไว้เพื่อไม่ให้รู้สึกอึดอัดเวลามองภาพ และยังช่วยบอกรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับภาพได้อีกด้วยhttps://f.ptcdn.info/843/009/000/1379413600-o.jpg |
https://f.ptcdn.info/843/009/000/1379413687-MG4649-o.jpg |
https://daily.rabbitstatic.com |
เส้นนำสายตา
เส้นนำสายตามีหลายลักษณะ ทั้งเส้นตรง โค้ง รูปตัวเอส เป็นการสร้างมิติและสามารถบอกลักษณะโครงสร้างของภาพอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนที่นำสายตาไปยังจุดเด่นหรือจุดสนใจของภาพนั้นๆ และอาจเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆ ในภาพได้ด้วยhttps://daily.rabbitstatic.com |
https://daily.rabbitstatic.com |
เส้นทแยงมุม
สร้างเส้นทแยงมุมด้วยสิ่งที่อยู่ในภาพ จะช่วยทำให้ภาพดูมีมิติ มีชีวิตชีวา และรู้สึกได้ถึงการเคลื่อนไหว
https://daily.rabbitstatic.com |
สร้างกรอบ
สร้างกรอบด้วยวัตถุทางธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม อย่างเช่นในภาพตัวอย่าง ที่ใช้หน้าต่างของรถไฟ หรือกระจกรถยนต์ เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่ช่วยให้ภาพดูน่าสนใจhttps://daily.rabbitstatic.com |
สร้างความแตกต่างระหว่าง พื้นหลัง กับ วัตถุ
เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่ช่วยสร้างภาพให้ดูน่าสนใจ ด้วยการหาความแตกต่างของแสง ของวัตถุ และพื้นหลัง อย่างชัดเจน ทำให้เกิด Contrast ที่เด่นชัด ช่วยดึงดูดความสนใจ และเพิ่มอารมณ์ในภาพได้เป็นอย่างดีhttps://f.ptcdn.info/542/045/000/ocmhla41l285ydD6J51-o.jpg |
Close Up
ถ่ายการภาพแบบ Close Up จะช่วยให้ภาพดูเติมเต็ม ไม่มีพื้นที่ว่างที่ไม่จำเป็นมากเกินไป เหมาะกับภาพที่มีจุดประงสงค์ เน้นเรื่องราวของสิ่งนั้นสิ่งเดียวอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการถ่ายภาพมนุษย์ หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ หรือแม้กระทั่งดอกไม้ ที่ Close Up ก็ยังคงเป็นเทคนิคที่หลายคนนิยมใช้เป็นประจำhttps://media.gcflearnfree.org/ctassets/topics/203/closeup_intro.jpg |
ดวงตาคือศูนย์กลาง
เทคนิคที่จะช่วยให้ภาพถ่าย Portrait ของคุณมีความน่าสนใจมากขึ้นกว่าเดิม ด้วยการจัดองค์ประกอบให้ดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง อยู่ตรงกลางของภาพ ช่วยเปลี่ยนอารมณ์ของภาพ Portrait ไปจากเดิมhttps://daily.rabbitstatic.com |
ใช้ลวดลายแพทเทิร์นเพิ่มลูกเล่น
Patterns คือภาพของสิ่งต่างๆ ที่ดูคล้ายกัน หรือเหมือนๆ กัน อยู่ต่อกันหลายจุดในภาพเดียว เรียงซ้อนซ้ำกันไปมา และมีจุดแตกต่างเพียงหนึ่งเดียวอยู่ท่ามกลางแพทเทิร์นนั้นๆ ทำให้จุดนี้กลายเป็นจุดเด่น ช่วยให้ภาพดูน่าสนใจได้มากเลยทีเดียวhttps://daily.rabbitstatic.com |
ความเป๊ะ
‘Symmetry’ หรือ ความสมมาตร คือความสมดุลของสัดส่วนของภาพ โดยใช้จุดเด่นอยู่กึ่งกลาง เป็นตัวแบ่งภาพให้ทั้งสองฝั่ง (อาจเป็นฝั่งซ้าย-ขวา หรือบน-ล่าง ก็ได้) เท่ากัน ช่วยให้ภาพดูน่าสนใจมากขึ้นhttps://panassayawongsri.files.wordpress.com/2014/11/picture-5.jpg |
กรอบภาพ
เป็นการนำวัสดุต่างๆ มาจัดวางให้ฉากหน้า หรือเป็นส่วนประกอบล้อมจุดเด่นเพื่อทำให้ภาพดูมีมิติ มีความลึก หรือทำให้สายตาพุ่งสู่จุดสนใจ หรือเพื่อลดพื้นที่ว่าง ทำให้ภาพกระชับขึ้นhttp://fb1-dh.lnwfile.com/_/dh/_raw/m5/lv/1q.jpg |
แสง เงา
โดยเราจะนำสีเทากลางนี้ไปเทียบกับสีต่างๆ ในธรรมชาติว่าควรจะชดเชยแสงเท่าไร สี แสง เงา ที่ออกมาจึงจะถูกต้อง ไม่ผิดเพี้ยน และตรงตามที่เราต้องการ ซึ่งจะสัมพันธ์กับการตั้งค่า F สปีดชัตเตอร์ และค่า ISOhttps://hocuspocus13.files.wordpress.com/2015/01/054.jpg |
Credit :
daily.rabbit.co.th
https://pantip.com/topic/30992314
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น